วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผ้าสามเหลี่ยม

การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandages)
          การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้โดยพับเก็บมุม ให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผลและอวัยวะที่ ใช้พัน
 
การพับผ้าสามเหลี่ยมการพับผ้าสามเหลี่ยมการพับผ้าสามเหลี่ยม
          1.การคล้อง แขน (Arm sling) ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผลและเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้
                    1.1วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อ ศอกข้างที่เจ็บ ให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง
                    1.2จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียวกับแขนข้างที่เจ็บ
                    1.3ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า
                    1.4เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย
 
การใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนการใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน
การใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนการใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน
          2.การพันศีรษะ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน
                    2.1วิธีใช้ผู้ปฐมพยาบาลต้องเริ่มต้นด้วยการพับด้านฐานสองทบกว้างประมาณ 2 นิ้ว
                    2.2จากนั้นวางผ้าบนศีรษะผู้ป่วยโดยให้ด้านฐานอยู่เหนือ หน้าผากจับชายผ้าด้านข้างทั้งสองข้างสลับกันที่ด้านหลังศีรษะแล้วอ้อม ผ่านบริเวณ   เหนือหูมาผูกตรงจุดกึ่งกลางหน้าผาก
                    2.3ชายผ้าที่เหลืออยู่ด้านหลังศีรษะจับม้วนขึ้นและพับเหน็บให้เรียบร้อย
 
การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะการใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะ
การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะการใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะ
 
          3.การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ทำตามลำดับดังนี้
                    3.1วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยมลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ
                    3.2ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน
                    3.3ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือ
 
การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันมือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันมือ

การพันผ้า

 ผู้ช่วยเหลือจะต้องฝึกพันผ้าเสมอ ๆ จนกระทั่งสามารถพันได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว และควรเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคนิคการพันผ้าไว้ประมาณ 2-3 วิธี เพื่อจะได้ดัดแปลงพันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกส่วน
     ชนิดของผ้าพันแผลที่ใช้ในการปฐมพยาบาลแบ่งกว้าง ๆ ได้ 2 ชนิด
          1. ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน แบ่งเป็นชนิดธรรมดา (Roll gauze bandage) และ ชนิดผ้ายืด (Elastic bandage) ซึ่งชนิดผ้ายืดจะมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่า มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีความกว้าง 1 ,2,3,4, หรือ 6 นิ้ว การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของอวัยวะที่บาดเจ็บ เช่น ที่นิ้วมือใช้ขนาด 1 นิ้ว ส่วนศีรษะใช้ขนาด 6 นิ้ว เป็นต้น ขนาดของผ้าที่พอเหมาะคือ เมื่อพันแล้วขอบของผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว
          2. ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) เป็นผ้าสามเหลี่ยมมีฐานกว้าง และด้านประกอบสามเหลี่ยมยาว 36-40 นิ้ว
     ในบางโอกาสวัสดุดังกล่าวหาไม่ได้ ดังนั้นผู้ปฐมพยาบาลอาจต้องดัดแปลงวัสดุอื่นมาใช้แทน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หรือแม้แต่เข็มขัดผ้า แต่จะต้องเลือกเฉพาะที่สะอาด ๆ เท่านั้น

ประโยชน์ของผ้าพันแผล
     ใช้ห้ามเลือด, ป้องกันการติดเชื้อ,พันเฝือกในรายกระดูกหัก,ใช้ยึดผ้าปิดแผลให้อยู่กับที่

หลักทั่วไปในการพันผ้า
     1. ก่อนพันผ้าทุกครั้ง ผ้าที่พันต้องม้วนให้เรียบร้อย ไม่หลุดลุ่ย
     2. จับผ้าด้วยมือข้างที่ถนัด โดยหงายม้วนผ้าขึ้น
     3. วางผ้าลงบริเวณที่ต้องการพัน พันรอบสัก 2-3 รอบ เมื่อเริ่มต้น และสิ้นสุดการพัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัวหลุดออก
     4. พันจากส่วนปลายไปหาส่วนโคน หรือ พันจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือ พันจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่
     5. เมื่อสิ้นสุดการพัน ควรผูกหรือใช้เข็มกลัดหรือติดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย แต่ไม่ให้ทับบริเวณแผล
     6. การใช้ผ้ายืดต้องระวังการรัดแน่นจนเกินไป จนเลือดเดินไม่สะดวกและกดทับเส้นประสาท สังเกตได้จากการบวม สีผิวซีด ขาว และเย็น พร้อมทั้งผู้บาดเจ็บจะบอกถึงอาการปวดและชา
     7. ถ้ามีอาการปวดและชา บริเวณที่พันผ้า ให้รีบคลายผ้าที่พันไว้ออกแล้วจึงพันใหม



Elastic bandage
ภาพที่ 1 Elastic bandage
Elastic bandage
ภาพที่ 2 Triangular bandage

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ผงเข้าตา

            อย่าขยี้ตา รีบลืมตาในน้ำสะอาด และกลอกตาไปมาถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าเขี่ยออก ถ้าไม่ได้ควรไปพบแพทย์ 

ไฟฟ้าช๊อต 

  1. รีบปิดสวิทซ์ไฟทันที ถ้าทำได้
  2. ถ้า ไม่สามารถปิดสวิทซ์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่ถูกไฟช๊อต ให้ยืนในที่แห้งแล้วใช้สิ่งไม่นำไฟฟ้า เช่นไม้ เก้าอี้ไม้ เขี่ยออกจากตัวผู้ป่วย
  3. เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้วให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

งูพิษกัด 

  1. ดูรอยแผล จะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด (ถ้างูไม่มีพิษกัดจะเป็นรอยถลอกให้ทำแผลแบบแผลถลอก)
  2. ใช้เชือกหรือเข็มขัดหรือยางรัดเหนือแผล (ระหว่างแผลกับหัวใจ)ให้แน่นพอสมควรอย่าแน่นมาก
  3. ให้นอนนิ่ง พูดปลอบใจอย่าให้กลัว
  4. ห้ามให้ดื่มสุรา ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท
  5. รีบพาไปพบแพทย์ ควรนำงูไปด้วย6.ถ้าหยุดหายใจ ให้เป่าปากช่วยหายใจ 

การเป่าปากช่วยหายใจ 

  1. วางผู้ป่วยนอนหงาย
  2. ใช้ของหนุนไหล่ให้สูง หรือใช้มือยกคอให้สูงขึ้นโดยให้ศีรษะตกหงายไปข้างหลัง
  3. อ้าปากออก เช็ดน้ำมูกน้ำลาย และล้วงเอาของในปากออก
  4. ผู้ช่วยหายใจหายใจเข้าเต็มปอดของตน
  5. อ้าปากคร่อมไปบนปากผู้ป่วย 

แมลงเข้าหู  

  1. ควร พาเข้าไปในที่มืด แล้วใช้ไฟฉายส่อง (แมลงจะออกมาตามแสง) หรือเอาน้ำหยอดให้แมลงลอยน้ำขึ้นมาหรือใช้น้ำมันหรือกรีเซอรีนบอแรกซ์หยอดหู แมลงจะตายในหูแล้วเขี่ยหรือคีบออกมา
  2. ถ้ามีประวัติหูน้ำหนวกข้างนั้น หรือทำตามดังกล่าวไม่ได้ผล ควรรีบไปพบแพทย์
 

เลือดกำเดา 

  1. ให้นั่งนิ่ง หงายศรีษะไปด้านหลัง หรือนอนหนุนไหล่หรือศีรษะให้สูง
  2. ใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือใช้มือบีบจมูกทั้งสองข้าง ให้หายใจทางปากแทน
  3. วางน้ำแข็งหรือผ้าเญ้นบนสันจมูก หน้าผากใต้ยากระไกร
  4. ถ้าเลือดไม่หยุด ควรรีบไปพบแพทย์
  5. ถ้าออกบ่อย อาจเป็นความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์

 

กลืนเหรียญ หรือสิ่งของแล้วติดหลอดลม

  1. ถ้าพบในเด็กเล็ก จับห้อยศรีษะลงต่ำ ตบหลังแรง ๆ ให้เด็กไอออกมา
  2. ถ้าพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จับพาดตักหรือโต๊ะให้ศรีษะต่ำและก้มหน้าลงแล้วตบหลังบริเวณระหว่างสะบัก 2 ข้าง หรือใช้วิธีรัดท้องอัดยอดอก
  3. ถ้ายังไม่ออกให้พาไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

 

กรดหรือด่างเข้าตา

  1. อย่าขยี้ตา รีบล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ และหลาย ๆ ครั้ง
  2. รีบพาไปหาหมอ
  3. ห้ามใช้ด่างหรือกรดไปล้างฤทธิ์ เพราะยิ่งจะมีอันตรายต่อดวงตามากขึ้น

 กระดูกหัก

  1. วางอวัยวะส่วนนั้นลงบนแผ่นไม้ หรือกิ่งไม้หรือนิตยสารที่หนา ๆ
  2. ใช้ผ้าพันยึดไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว
  3. ถ้าเป็นที่ปลายแขนหรือมือ ใช้ผ้าคล้องคอ

 

การห้ามเลือด 

  1. ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด
  2. ถ้าบาดแผลใหญ่ ใช้ผ้า เชือก หรือสายยางรัดเหนือแผล (ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่น